ตรึมแตลตะกวด


               หมู่บ้านเก่าแก่ที่มีประชากร ใช้ภาษาดั้งเดิม อันแสดงว่าสืบเชื้อสายมาจากชนพื้นเมืองเดิม คือไทยกูย พูดภาษากูย (ตระกูลมอญ-เขมร) เป็นเลือดผสมระหว่าง เวดดิก และ เมลานีเซียน  นับเนืองอยู่ ในกลุ่มชาติพันธ์เดียวกับพวกข่า  อาศัยอยู่แถบเขาพนมดงรัก  มีความชำนาญในการจับช้างส่วนหนึ่ง  อีกสว่นหนึ่งทำการเกษตร เป็นหลัก   ซึ่งถูกเรียกว่า  "กูยเป๊าะ"  หรือ กูยเดิน  หรือ กูยเร่รอน ปรากฎหลักฐานในจารึกสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 2  ประมาณศตวรรษที่9  อย่างน้อยพอประมาณได้ว่า ต้นสมัยประวัติศาสตร์อาณาจักรเจนละ คงมีคนกลุ่มนี้อาศัยอยู่ก่อนแล้ว ตอนหลังผสมผสานแต่งงาน ร่วมวัฒนธรรมกับพวกขอมจากเมืองพระนคร จนกลายเป็น ชนชาติผสมเป็นสว่นใหญ่   ตำบลตรึมและตำบลแตน อำเภอศีขรภูมิ มีหมู่บ้านในสังกัดหลายหมู่บ้าน ที่พูดภาษาไทยกูย  ในตำบลตรึมเป็นหมู่บ้านเก่า ปรากฎร่องรอยชีวิตดั้งเดิม ของคนไทยกูยหลายประการ เช่นผ้าไหมที่ใช้แตกต่างจากชาวสุรินทร์ ในตำบลอื่นๆเพราะชาวไทยกูย นิยมนุ่งผ้าที่มีหัวซิ่นสีแดงลายขิด และมีตีนซิ่นสีดำริ้วขาวเหลืองแดง ถือเป็นศิลปะเฉพาะที่ให้ความงามแปลกตา ตำบลแตลก็เช่นกัน ใต้ถุนเรือนแทบทุกหลังคา ทอผ้าประเภทใช้หูกพับเก็บได้ เพราะพื้นเรือนจะถูกแบ่งเนื้อที่อย่างน้อย 3 ส่วนคือส่วนที่ 1 วางกี่หูกทอผ้า ซึ่งมีความยาวมาก ส่วนที่2 เป็นคอกวัวควาย ด้านหนึ่งของคอกใช้ผูกหูกทอผ้า ส่วนที่ 3 เป็นร้านเก็บเครื่องจักรสาน ต่างๆ และชั้นล่างเลี้ยงเป็ดไก่ และวางเชิงกรานหุงต้ม หรือย้อมไหม
               ผ้าลายขิตเป็นจุดเด่นของชนชาวกูย อันแสดงศิลปะการแต่งตัวที่น่าทึ่ง กล่าวคือ หัวซิ่นใช้ประโยชน์ ในการพับเป็นถุงเงินสีแดงลายขิด ที่ตัดกับสีผ้าถุง ผ้าโพกหัวลายขิดเรียกว่า สไบเจียดตรุย มีชายครุยห้อยลูกปัดสำหรับหนุ่มสาวโพกศรีษะ ในขบวนแห่บั้งไฟขอฝนและมีการทำแซวบน เสื้อที่ลวดลายคล้ายหางตะกวด 
สวยงามเช่นกัน

ตะกวด(หรือ ตะก๊อด)


               เป็นสัตว์ที่ชาวไทยกูย ที่ไม่ได้เลี้ยงช้างบางหมู่บ้าน  เชื่อถือว่าเป็นตัวแทนของผีปู่ตา ห้ามทำร้าย การกล่าวถึงตะกวด จะต้องกล่าวในลักษณะยกย่อง ที่บ้านตรึม 
จะมีต้นไม้ ใหญ่ อายุเป็นร้อยกว่าปี หลายต้น สำหรับเป้นโพรงให้ตะกวดอาศียอยู่ ตะกวดจะเดินอยู่ทั่วไปในหมู่บ้าน ขึ้นบนบ้าน เล่นกับเด็กๆ มีข้อยืนยันมากว่า 24 หมู่บ้าน ที่นับถือตะกวดเหมือนเป็นผีปู่ตา หากฝนฟ้าไม่อำนวยในบางปี หรือชาวบ้านทะเลาะเบาะแว้งกัน หรือข้าวราคาตกต่ำ ชาวบ้านจะเชื่อเป็นเพราะตะกวด หรือปู่ตาไม่พอใจ ต้องทำ พิธีบวงสรวงเสี่ยงทาย และเซ่นไหว้ โดยเฉพาะเดือน 2 และ เดือน 6 ทุกคนต้องทำบุญประจำป ีให้ตะกวด โดยมีศาลปู่ตาตะกวดที่ป่าช้าเป็นหลัก รองลงมา คือ
ต้นมะขามใหญ่ และที่วัด โดยเฉพาะที่วัดจะมีสุสานตะกวด สำหรับเก็บกระดูก ตะกวดที่ตายแล้ว หลังจากที่ทำพิธีศพเรียบร้อยแล้ว
               ส่วนใหญ่หมู่บ้านไทยกูยอื่นๆ ที่ไม่มีตะกวดอาศัยอยู่ จะมีศาลยะจุ๊ และมียะจุ๊ประจำตระกูล สำหรับการเซ่นไหว้บอกกล่าวบรรพบุรุษ
ที่ล่วงลับไปแล้ว สภาพชุมชนไทยกูย ดูได้ที่บ้านตากแดด บ้านตรึม บ้านแตล บ้านสำโรงทาบ บ้านหนองสมบูรณ์เป็นต้น

มะมว๊ด มอ-ออ
           เป็นพิธีกรรมที่สำคัญของคนไทยเขมรและไทยกูย ในจังหวัดสุรินทร์ แทบทุกตำบล จะมีแม่ครูมะม๊วด หรือแม่ มอ-ออ อันเป็นตัวเอก ในพิธธีกรรมดังกล่าว  ชาวไทยเขมรใช้พิธีกรรมมะม๊วด  ชาวไทยกูยใช้พิธีกรรม แกล มอ-ออ  ตามกาละและเทศะ 2-3 แบบ กล่าวคือ แบบที่หนึ่งเป็นการเข้าทรงเพื่อรักษาผู้ป่วย เรีกขวัญผู้ป่วย ถือเป็นการรักษาทางจิต ที่ใช้เสียงเพลงกล่อมบรรเลง แบบที่ 2 เข้าทรงเพื่อเสี่ยงทาย อย่างน้อยเป็นการปลอบขวัญ ให้ความทุกข์ของคนคลี่คลายลง แบบที่ 3 เข้าทรง
เพื่อบูชาครู กำเนิดเพื่อให้เกิดความสนุกสนาน อันอาจจัดไว้เป็นการละเล่น ประเภทหนึ่งที่มักเล่นในช่วง 2-3 เดือน มักเล่นเป็นหมู่ สำหรับมะม๊วด หาดูได้ที่บ้าน
นางสามารถ กล้วยสุก เป็นแม่ครู บ้านสังขะ อำเภอสังขะ (นางเฮม อินทร์นุช เป็นแม่ครู) บ้านบะ อำเภอทาตูม แลบะที่อื่นๆ อีกหลายแห่ง ส่วน แกลมอ -ออ หาดูได้ 
ที่บ้านแตล   อ.ศีขรภูมิ บ้านสำโรงทาบ อ.สำโรงทาบ บ้านหนองสมบูรณ์ อ.กาบเชิง บ้านตระมูง อ.ท่าตูม เป็นต้น

               

แคแจด

               เป็นประเภณีสำคัญยิ่งของชาวสุรินทร์ ซึ่งกระทำกันในเดือน 5 ถือเป็นปีใหม่ ซึ่งเป็นวันขึ้นศักราชใหม่ จะมีการตีฆ้องโหม่ง (ทำจากสำริดขนาดใหญ่) เตือนให้ชาวบ้านรู้ และเป็นการไล่ผีออกจากหมู่บ้าน ซึ่งใน 3-7 วัน ชาวบ้านจะมีข้อห้าม (เรียกว่าตอม) กล่าวคือ จะไม่ทำงาน ทำเฉพาะงานที่เกี่ยวกับปากท้องเ่านั้น ชาวบ้านจะหยุดทอผ้า ทำสวนทำไร่ ตัดไม้ ค้าไม้ ค้าขาย และอื่นๆ ทั้งเดือนจะเล่นให้สนุกสนาน จะมีคณะบุคคลเจรียงตรษ (ตรุษ) เดินขับร้องเรีบยเป็นแถวไปอวยพรซึ่งกันและกัน และร่วมแรงร่วมใจทำบุญ ในวันปีใหม่ในวันปีใหม่ มีการส่งมอบของขวัญ ประกอบกับเสียงเพลงที่มีความหมายเฉพาะ ในแต่ละขั้นตอนของคณะตรุษ ขณะประชันหน้ากับเจ้าของบ้าน ถือเป็นศิลปะชั้นสูงที่มีความหมายทางวัฒนธรรมอย่างล้ำลึก จากนั้นช าวบ้านก็พร้อมใจกัน บวงสรวงเทพเจ้า
ณ ปราสาทหินโบราณ ไปทำบุญเจดีย์ทรายที่วัด และรดน้ำดำหัวกัน ในตอนหัวค่ำ จะมีการละเล่น เช่นเล่นสะบ้า เล่นโซง ในหมู่เด็กและวัยรุ่น กลางคืน จะมีการรำกระทบสาก ของหนุ่มสาว และช่วงดึกจนรุ่งเช้าจะมีการเจรียงนอรแกวโต้ตอบกับผู้สูงอายุ ซึ่งการละเล่นในเดือน 5 (แคแจด) ของชาวสุรินทร์ถือเป็นภูมิปัญญาชาวบ้านที่จัดกิจกรรมได้เหมาะสมแก่วัย และมีความหมายในการดำเนินชีวิตของคนไทย ในทุกยุคทุกสมัย ซึ่งประเพณีนี้ หาดูได้ตามหมู่บ้านปราสาทโบราณ เช่น ภูมิโปน อ.สังขะ บ้านจารย์ อ.กาบเชิง บ้านพลวง อ.ปราสาท บ้านไพล อ.เมือง
บ้านจอมพระ อ.จอมพระ บ้านช่างปี่ อ.ศีขรภูมิเป็นต้น

เพลงและการละเล่นพื้นบ้านสุรินทร์

             เพลงและการละเล่นพื้นบ้านสุรินทร์ มีการสั่งสมวัฒนธรรมของตนเองมานานจนเปนเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม โดยเฉพาะทางด้านทำนองเพลง
บทร้อง ซึ่งมีบทบาทต่อชีวิต ต่อชุมชนในจังหวัดสุรินทร์ วัฒนธรรมทางด้านเพลงและการละเล่นพื้นบ้านของสุรินทร์ที่เด่นๆ และสำคัญประกอบด้วย
               1. เพลงพื้นบ้านกันตรึม 
กันตรึมเป็นวงดนตรีพื้นบ้านที่นำเอาจังหวะการตีโทนโจ๊ะ - คะครึม ครึม มาเป็นชื่อวงเรียกว่า "กันตรึม" ซึ่งหมายถึง" สก็วล"(กลองโทน) นั่นเอง
บทร้องกันตรึม จใช้ภาษษเขมร ไม่นิยมร้องเดป็นเรื่องราว แต่จะคิดคำกลอนให่เหมาะกับงานที่เล่น หรือใช้บทร้องเก่าๆ ที่จดจำกันมา
บทเพลงและทำนองเพลงกันตรึม มีหลายทำนอง หลายจังหวะ ซึ่งแบ่งออกเป็นบทเพลงครู บทเพลงที่ใช้สำหรับขบวนแห่ บทเพลงเบ้ดเตล็ดต่างๆ และปัจจุบันมีการนำบทเพลงกันตรึมมาประยุกต์ โดยทำนองเพลงลูกทุ่งมาประยุกต์เป็นทำนองเพลงกันตรึม จะมีผู้เล่น ชาย-หญิง ร้องโ้ตอบกัน
และมีการฟ้อนรำประกอบด้วย
                2. เจรียง หรือจำเรียง
เป็นการขับหรือออกเสียงเป็นทำนองแบบอ่านทำนองเสนาะ ใช้กลอนสดเป็นส่วนใหญ่ ในการขับขานนิทานชาดก และเกี่ยวกับพุทธศาสนา ตลอดจนบรรยายเหตุการณ์ในอดีตและปัจจบัน การเจรียงมีหลายประเภทเช่น ถ้าเป็นการเจรียงโดยใช้ปี่ที่ชื่อว่า เปยจรวง เป่าประกอบก็เรียกว่า
"เจรียงจรวง" ถ้าใช้ซอบรรเลงประกอบเรียกว่า "เจรียงตรัว" และถ้านำเจรียงไปขับขานประกอบประเพณีการตกเบ็ดบนบก ภาษาเขมรเรียกว่า
"ซันตู้ย" ก็เรียกเจรียงซันตู้ย ถ้านำเจรียงไปประกอบเสียงแคน ก็เรียกว่า " เจรียงเบริน" ถ้านำเจรียงไปขับขานกับการละเล่นพื้นบ้านอะไรก็จะใช้คำว่า
เจรียงนำหน้าการละเล่นนั้นๆ
                เจรียงเบริน
เจรียงเบรินเป็นการร้องโต้ตอบระหว่างฝ่ายหญิง-ชาย เป็นทำนองลำ โดยมีแคน เป็นเครื่อดนตรีประกอบ การเล่นเจรียงเบริน จะมีการฟ้อนรำ
ประกอบเสียงแคน เริ่งเจรียงด้วยบทไหว้ครู ปฏิสันถารกับผู้ฟัง และเป็นการเจรียงบอกกลาวถึง ความสำคัญของงาน มีการยกนิทาน อุทาหรณ ์
ประกอบการเจรียง
                3. เรือมอันเร (ลูดอันเร)
เรือมแปลว่า"รำ" ลูด แปลว่า "กระโดด หรือ "เต้น" อันเร แปลว่า "สาก" ฉะนั้น เรือมอันเร หรือ ลูดอันเรจึงแปลว่า"รำสากหรือเต้นสาก"
การเรือมอันเร จะเล่นกันในวันหยุดสงกรานต์ ซึ่งเรียกว่า"วันตอม" ชาวสุรินทร์ถือว่า วันขึ้น 7 ค่ำ เดือนห้า เป็นวันขึ้นปีใหม่ทางจันทรคติ
จะมีการหยุดงาน 2 ช่วง คือหยุด 3 วัน และ 7 วัน ในช่วงนี้ ชาวบ้านจะเล่น เรือมอันเร ที่ลานบ้านหรือลานวัด อุปกรณ์ประกอบการเล่น เรือมอันเร
ประกอบด้วย สาก 2 อัน ยาวประมาณ 2-3 เมตร ทำจากไม้เนื้อแข็ง เช่นไม้พยุล หรือไม้ประดู่ มีไม้หมอน วางรองหัว - ท้าย สากสูงประมาณ
3-4 นิ้ว การเล่นเรือมอันเรสมัยก่อนมีเพียง 3 จังหวะ คือจังหวะเจืองมูย จืงปีร์ และมลบโดง และจังหวะจืงปีร์
               4. เรือมอายัย
เป็นการละเล่นพื้นบ้าน ที่ร้องโต้กลอนสดเกี้ยวพาราณสีระหว่างหนุ่มสาว นิยมเล่นกันในงานเทศกาลต่างๆ การเล่นเรือมอายัยเมื่อร้องจบแต่ละวรรค
จะมีลูกคู่ร้องรับ และมีเครื่องคนตรีบรรเลงรับ ท่ารำไม่มีแบบแผน  เป็นการฟ้อนรำให้เข้ากับจังหวะดนตรี ที่มีจังหวะเร่งเร้า สนุกสนานทำนองที่ใช้
บรรเลงประกอบด้วยเรือมอายัย เรียกว่า"ทำนองอายัยลำเบ"ท่ารำของฝ่ายหญิง จะเป็นท่าที่คอยปกป้องระวังการถูกเนื้อต้องตัวของฝ่ายชาย
               5. กะโน๊ปติงตอง
เป็นภาษาเขมรแปลว่าตั๊กแตนตำข้าว เป็นการละเล่นที่เลียนแบบลีลา ท่าทางการเคลื่อนไหวของตั๊กแตน ผู้ที่คิดริเริ่มคนแรกคือ นายเต็ม ตระการดี
ราษฎร บ้านโพธิ์ทอง ต.ไพล อ.ปราสาท จ.สุรินทร์ ได้เห็นตั๊กแตนตำข้าว กำลังเกี้ยวพาราณสีกันอยู่ จึงได้เฝ้าดูลีลาท่าทาง ของตั๊กแตนทั้งค
ู่ และได้มาคิดประดิษฐ์ท่าเต้น เลียนแบบตั๊กแตน เรียกว่าการเต้น "กะโน๊ปติงตอง" การเต้นในระยะแรกเป็นการเต้นเพื่อความสนุกสนานในวงมโหรี ต่อมามีการนำไปสอนให้เด็กนักเรียนในโรงเรียน บ้านโพธิ์กอง และระแวกใกล้เคียง ต่อมามีการเผยแพร่ทั้งในงาน ลูกเสือ และงานอื่นๆ จนเป็นที่รู้จักกันทั่วไป
               6. วงมโหรีพื้นบ้าน
เป็นวงดนตรีที่มีการประสมวง โดยมีเครื่องดนตรีหลายอย่าง เช่น ซอ ปี่ กลอง ฉาบ ฉิ่ง ซึ่งมีทั้งดนตรีประเภทเครื่องสาย และประเภทปี่พาทย์บางชิ้น
มาผสมกัน โดยมีซอเป็นเครื่องดตรีหลัก ใช้บรรเลงในงานต่างๆ วงมโหรีพื้นบ้าน ในจังหวัดสุรินทร์มีหลายคณะ เช่นคณะบ้านภูมิโปน บ้านดม จะมีการบรรเลงเพลง
ทั้งเพลงขับร้อง และเพลงบรรเลง เพลงขับร้องบางเพลงจะมีท่ารำประกอบ และมีการเจรียงโต้ตอบกัน เช่น เพลงซอซาร เป็นภาษาเขมรแปลว่าที่รัก
ในการร้องหรือเจรียงเพลงนี้ จะมีการรำเกี้ยวระหว่าง ชาย-หญิง นอกจากนี้ยังมีเพลงร้องที่มีเนื้อหาเป็นภาษาเขมร และมีท่ารำประกอบเช่นเพลงอมตูก
เพลบงอายัยโบราณ เป็นต้น
               วงมโหรีพื้นบ้านเป็นงานสร้างสรรค์ของกลุ่มชาวบ้านที่สืบทอดกันต่อมาตั้งแต่อดีต จนถึงปัจจุบัน จากเงื่อนไขของสภาพแวดล้อม สภาพสังคม ปรับเปลี่ยนเพื่อความเหมาะสม วงมโหรีพื้นบ้าน จึงเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตชาวบ้าน เพราะเป็นเครื่องนันทนาการของสังคมชาวบ้านและเป็นสื่อประสานความสัมพันธ์ทางสังคมชาวบ้าน

 

.
Webpage Designed by Manit Srakaew ,Sikhoraphum, Surin,Thailand
Thank you that you visit our website.
Webmaster : manit.sk@chaiyo.com